วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

การผันคำ


การผันคำ
 
การผันคำ คือ การออกเสียงพยางค์ที่ใช้พยัญชนะตัวเดียวกัน และสระเสียงเดียวกัน แต่เสียงวรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป

เช่น ดวง ด่วง ด้วง ด๊วง ด๋วง หรือ ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า

          พื้นเสียง คือ พยางค์ที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น การ กิน ดี มี สุข

          จะเห็นว่าทั้งห้าคำนี้ ไม่มีรูปวรรณยุกต์อยู่เลย จำไว้นะคะว่า คำเหล่านี้แม้จะไม่มีรูปวรรณยุกต์ แต่ทุก ๆ เสียง ทุก ๆ คำในภาษาไทยจะต้องมีเสียงวรรณยุกต์ค่ะ

          อย่างที่พี่บอกไปแล้วในตอนต้นว่า การแบ่งอักษรเป็นสามหมู่ก็เพื่อประโยชน์ในการนำไปผันคำ ทั้งนี้เพราะอักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ มีพื้นเสียง และวิธีการผันคำที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ คำเป็นและคำตาย ก็ยังมีวิธีการผันคำที่แตกต่างกันอีกด้วย ดังต่อไปนี้

๑. การผันอักษรสูง ( ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ส ษ ห)

          อักษรสูง คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา เช่น ขาว หาม ถาง

ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์เอก จะได้เสียงเอก เช่น ข่าว ฝ่า ส่ง

เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงโท เช่น ข้าว ฝ้า ส้ง

   จะเห็นได้ว่า อักษรสูง คำเป็นผันได้ ๓ เสียง คือ เสียงเอก โท ตรีและจัตวา

     อักษรสูง คำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ขด ผด ขบ

ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงโท เช่น ข้ด ห้ก

          จะเห็นได้ว่า อักษรสูง คำตายผันได้ ๒ เสียง คือ เสียงเอก และโท

๒. การผันอักษรกลาง ( ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ)

          อักษรกลาง คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กาย ดาว ปา

ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์เอก จะได้เสียงเอก เช่น ต่า ป่า ด่า

เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงโท เช่น ต้า ป้า ด้า

เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์ตรี จะได้เสียงตรี เช่น ต๊า ป๊า ด๊า

เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา จะได้เสียงจัตวา เช่น ต๋า ป๋า ด๋า

          จะเห็นได้ว่า อักษรกลาง คำเป็นผันได้ครบทั้ง ๕ เสียง และเสียงของวรรณยุกต์ก็ยังตรงกับรูปของวรรณยุกต์อีกด้วย

          อักษรกลาง คำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น กบ กะ โดด

ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงโท เช่น ก้บ ก้ะ โด้ด

เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์ตรี จะได้เสียงตรี เช่น ก๊บ ก๊ะ โด๊ด

เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา จะได้เสียงจัตวา เช่น ก๋บ ก๋ะ โด๋ด

          จะเห็นได้ว่า อักษรต่ำ คำเป็นผันได้ ๔ เสียง คือ เสียงเอก โท ตรีและจัตวา

          ตามหลักภาษาไทยแล้ว ถ้าเราต้องการผัน อักษรสูง และอักษรต่ำให้ครบทั้ง ๕ เสียง ก็ต้องนำ อักษรคู่” (ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ) มาช่วยค่ะ จึงจะผันได้ครบทั้ง ๕ เสียง เช่นคี ขี่ ขี้ (คี่) คี้ ขี

 ๓. การผันอักษรต่ำ ( ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ)

          อักษรต่ำ คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น คาง ธง โชน ยาว เคย

ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์เอก จะได้เสียงโท เช่น ค่าง โค่น เท่า

เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงตรี เช่น ค้าง โล้น เท้า

          จะเห็นได้ว่า อักษรต่ำ คำเป็นผันได้ ๓ เสียง คือ เสียงสามัญ โท และตรี เช่น

          อักษรต่ำ คำตาย-สระเสียงสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี เช่น รัก นะ คะ

ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์เอก จะได้เสียงโท เช่น รั่ก น่ะ ค่ะ

          จะเห็นได้ว่า อักษรต่ำ คำตาย-สระเสียงสั้นผันได้ ๒ เสียง คือ เสียงโท และตรี เช่น

          อักษรต่ำ คำตาย-สระเสียงยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท เช่น ฟาก เชิด

ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงตรี เช่น ฟ้าก เชิ้ด

          จะเห็นได้ว่า อักษรต่ำ คำตาย-สระเสียงยาวผันได้ ๒ เสียง คือ เสียงโท และตรี เช่น

๔. การผันอักษรเดี่ยว (มี ๑๐ ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ)

          อักษรเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง

          ดังนั้น หากต้องการจะผันให้ครบทั้ง ๕ เสียง จะต้องใช้พยัญชนะ หรือเสียง ห. นำ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น